- สมาคมนี้ชื่อว่า “ สมาคมนักเรียนเก่าสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ” ใช้อักษรย่อ “ ส.ส.จ. ” ใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า
“Chulalongkorn University Demonstration School Alumni Association” และใช้อักษรย่อว่า “C.D.A.” - สำนักงานใหญ่ของสมาคมตั้งอยู่ ณ โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม กรุงเทพมหานคร
- เครื่องหมายของสมาคมเป็นรูปพระเกี้ยวแบบที่ใช้ปักบนเสื้อนักเรียน อยู่ภายในกรอบสี่เหลี่ยม มีชื่อภาษาไทยอยู่ใต้พระเกี้ยว
- วัตถุประสงค์ของสมาคม คือ
- เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์และผดุงมิตรภาพระหว่างนักเรียนเก่าสาธิตจุฬาฯ
- เพื่อเป็นสื่อการติดต่อระหว่างมวลสมาชิก
- เพื่อสงเคราะห์ช่วยเหลือสมาชิกและนักเรียนปัจจุบันของโรงเรียน
- เพื่อส่งเสริมความสนใจในวิชาการและเผยแพร่ชื่อเสียงเกียรติคุณของโรงเรียน
- เพื่อส่งเสริมด้านการกีฬาและการบันเทิง
- เพื่อกระทำการอื่นใดอันจำเป็น เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ข้างต้น ทั้งนี้วัตถุประสงค์ทุกประการไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง
- เพื่อส่งเสริมกิจกรรมของอาจารย์และนักเรียนในการพัฒนาความก้าวหน้า และเสริมสร้างชื่อเสียงให้กับโรงเรียน
- สมาชิกของสมาคม มี 3 ประเภท คือ
- สมาชิกสามัญ
- สมาชิกวิสามัญ
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- ผู้สมัครเป็นสมาชิกสามัญ ต้องเป็นผู้ที่เคยศึกษาอยู่ในโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นเวลา ไม่น้อยกว่า 1 ปีการศึกษา
- ผู้สมัครเป็นสมาชิกวิสามัญ ต้องเป็นผู้ที่
- ทำการสอนในโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ไม่น้อยกว่า 1 ปี การศึกษา หรือ
- กำลังศึกษาในโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- สมาชิกกิตติมศักดิ์ ได้แก่ผู้ทรงเกียรติคุณ มีความรอบรู้หรือมีอุปการคุณแก่สมาคม หรือโรงเรียนสาธิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งคณะ
กรรมการยกย่องและมีมติเป็นเอกฉันท์ให้เสนอต่อที่ประชุมใหญ่ และที่ประชุมใหญ่โดยมติไม่น้อยกว่าสองในสามของสมาชิกที่มาประชุมมี
มติให้เชิญเป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์ - ผู้สมัครเข้าเป็นสมาชิกต้องทำคำขอสมัครตามแบบ ยื่นต่อเลขานุการสมาคม
- ให้คณะกรรมการของสมาคมพิจารณาบุคคลผู้สมัครเข้าเป็นสมาชิก เมื่อเห็นสมควรรับเข้าเป็นสมาชิกให้ แจ้งแก่ผู้สมัครทราบเป็นลายลักษณ์
อักษร และปิดประกาศภายใน 1 เดือนนับแต่วันที่คณะกรรมการ พิจารณาอนุมัติรับเข้าเป็นสมาชิก - คณะกรรมการมีอำนาจไม่รับผู้สมัครคนใดเข้าเป็นสมาชิกในเมื่อมีเหตุควรเชื่อว่าการรับสมัครผู้นั้นอาจนำ ความเสื่อมเสียมาสู่สมาคมได้ใน
ภายหลัง โดยคณะกรรมการไม่จำเป็นต้องชี้แจงแสดงเหตุ - สมาชิกภาพของสมาชิกสามัญและวิสามัญเริ่มตั้งแต่วันที่มาขอลงทะเบียนและชำระเงินค่าลงทะเบียนเป็น จำนวน 200 บาท สำหรับนักเรียน
เก่าที่จบแล้วไม่เกิน 5 ปี และจำนวน 500 บาท สำหรับนักเรียน เก่าที่จบเกินกว่า 5 ปี - สมาชิกภาพสิ้นสุดลงเมื่อสมาชิก
- ตาย หรือ
- ลาออกโดยแจ้งเป็นหนังสือถึงคณะกรรมการ
- คณะกรรมการของสมาคมพิจารณาให้ออกโดยที่ประชุมคณะกรรมการโดยมติไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนกรรมการลงมติให้ลบชื่อออก
จากทะเบียนสมาชิก ทั้งนี้คณะกรรมการต้องชี้แจงแสดงเหตุในการให้ออกแก่สมาชิกและคณะกรรมการต้องให้โอกาสตามสมควร
แก่สมาชิกผู้นั้นแก้ข้อกล่าวหา - ขาดคุณสมบัติการเป็นสมาชิก ตามข้อ 7. ของข้อบังคับสมาคม
- สิทธิและหน้าที่ของสมาชิก
- มีสิทธิเข้าฟังการประชุมและแสดงความคิดเห็น แต่สมาชิกสามัญเท่านั้นที่มีสิทธิเสนอญัตติ ออกเสียงลงคะแนนและได้รับการ
เลือกตั้งเป็นคณะกรรมการ - มีสิทธิประดับเครื่องหมายของสมาคม
- มีสิทธิใช้สถานที่ของสมาคม โดยปฏิบัติตามระเบียบของสมาคมที่กำหนดไว้
- มีสิทธิที่จะรับประโยชน์จากสมาคม การกีฬา การบันเทิง และการอื่นซึ่งสมาคมจะจัดขึ้นสำหรับสมาชิกทั่ว ๆ ไป
- มีสิทธิเข้าฟังการประชุมและแสดงความคิดเห็น แต่สมาชิกสามัญเท่านั้นที่มีสิทธิเสนอญัตติ ออกเสียงลงคะแนนและได้รับการ
- สมาชิกทุกคนมีหน้าที่จะต้องปฏิบัติตามข้อบังคับของสมาคมและระเบียบทั้งหลาย ซึ่งคณะกรรมการจะกำหนดขึ้นโดยอาศัยอำนาจตาม
ข้อบังคับนี้ - ไม่ว่ากรณีใด ๆ ห้ามสมาชิกใช้ชื่อของสมาคมหรือใช้สถานที่ของสมาคมเพื่อประโยชน์ส่วนตนหรือทาง การเมืองเป็นอันขาด
- การดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของสมาคมให้อยู่ภายใต้ความอำนวยการของคณะกรรมการ ซึ่งมีจำนวน ไม่ต่ำกว่า 12 คน และไม่เกิน 25 คน
ซึ่งที่ประชุมใหญ่เลือกตั้งจากสมาชิกสามัญของสมาคม - คณะกรรมการอยู่ในตำแหน่งคราวละ 2 ปี โดยให้เริ่มนับตั้งแต่วันที่ 1มิถุนายน ของปีแรกและ สิ้นสุดลงในวันที่ 31 พฤษภาคม ของปีที่สอง
- ในการเลือกตั้งคณะกรรมการให้ที่ประชุมใหญ่เลือกตั้งกรรมการทั้งชุด และกรรมการเลือกตั้งนายก สมาคม สำหรับตำแหน่งอื่น ๆ เช่น
อุปนายก เลขานุการ เหรัญญิก ปฎิคม สาราณียกร นายทะเบียน ประชาสัมพันธ์ และสวัสดิการนั้น นายกสมาคมจะเป็นผู้แต่งตั้งนักเรียนเก่า
ทุกรุ่นมีสิทธิ ส่งผู้แทน 1 คน เพื่อเข้าประชุมร่วมกับคณะกรรมการผู้แทนรุ่นมีสิทธิเสนอข้อคิดเห็นต่อคณะกรรมการแต่คณะกรรมการเท่านั้นที่มี
สิทธิลง คะแนนเสียง กรรมการอันนอกจากที่กล่าวไว้ ให้คณะกรรมการจัดตั้งเป็นกรรมการฝ่ายต่างๆ และหรือชมรมที่จัดตั้งขึ้นเพื่อประโยชน์
ในการบริหารกิจการของสมาคม คณะกรรมการมีอำนาจตั้งกรรมการที่ปรึกษา กรรมการชมรมและอนุกรรมการเพื่อดำเนินการใดๆ ได้ - กรรมการทุกคนดำรงตำแหน่งกิตติมศักดิ์
- คณะกรรมการมีอำนาจที่จะวางระเบียบข้อบังคับในการปฏิบัติงานใด ๆ ตามที่เห็นสมควรเพื่อประโยชน์ ตามวัตถุประสงค์ของสมาคม
- ให้มีการเลือกตั้งกรรมการใหม่แทนกรรมการที่ต้องออกตามวาระทุกคราวที่มีการประชุมใหญ่สามัญประจำปี ในกรณีที่กรรมการพ้นจากตำแหน่ง
ทั้งคณะก่อนถึงวาระก็ให้เรียกประชุมใหญ่วิสามัญเพื่อเลือกตั้ง กรรมการคณะใหม่ - คณะกรรมการทั้งคณะย่อมพ้นจากตำแหน่งก่อนถึงวาระ เมื่อ
- ลาออกทั้งคณะ หรือ
- ที่ประชุมใหญ่ลงมติไม่ไว้วางใจ
- กรรมการแต่ละคนย่อมพ้นจากตำแหน่งก่อนถึงวาระ เมื่อ
- ขาดจากสมาชิกภาพ หรือ
- ลาออกจากตำแหน่ง หรือ
- ที่ประชุมใหญ่ลงมติไม่ไว้วางใจ เพื่อประโยชน์แห่งข้อนี้ ถ้ากรรมการใดขาดประชุมคณะกรรมการโดยไม่ชี้แจงแสดงเหตุและโดย
ที่ประชุมคณะกรรมการไม่สามารถทราบเหตุขัดข้องได้ถึง 3 ครั้งติดต่อกัน ให้ถือว่าการขาดประชุมเช่นนั้นเป็นการแสดงเจตนา
ขอลาออกจากตำแหน่ง
- ในกรณีที่กรรมการผู้ใดพ้นจากตำแหน่งเฉพาะตัว หรือตำแหน่งกรรมการว่างโดยเหตุใดเหตุหนึ่งในระหว่างปี ให้คณะกรรมการเลือกตั้งกรรมการ
ซ่อมแทนตำแหน่งกรรมการที่ว่างลงนั้น และกรรมการที่ได้รับแต่งตั้งซ่อมนี้ให้อยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่ากำหนดเวลาที่กรรมการผู้ที่ออกไปนั้น
ชอบที่จะอยู่ได้ - ถ้าจำนวนกรรมการลดลงต่ำกว่า 12 คนระหว่างปีให้คณะกรรมการที่เหลืออยู่เลือกตั้งกรรมการซ่อมแทนตำแหน่งกรรมการที่ว่างลงนั้น และ
กรรมการ ที่ได้รับแต่งตั้งซ่อมนี้ให้อยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่ากำหนดเวลาที่กรรมการผู้ที่ออกไปนั้นชอบที่จะอยู่ได้ - องค์ประชุมกรรมการประกอบด้วยกรรมการไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนคณะกรรมการหรือไม่ น้อยกว่า 7 คน และให้ใช้ข้อบังคับว่าด้วย
การประชุมใหญ่โดยอนุโลม - ให้มีการประชุมใหญ่สามัญประจำปีหนึ่งครั้งในระหว่างเดือนตุลาคม – ธันวาคม
- การประชุมใหญ่เพื่อพิจารณาระเบียบวาระต่อไปนี้
- เพื่อพิจารณารายงานกิจการของคณะกรรมการเกี่ยวกับกิจการของสมาคม ซึ่งคณะกรรมการคณะนั้นได้ทำงานมา
- เพื่อพิจารณาและอนุมัติบัญชีงบดุลสำหรับปีที่ล่วงมาแล้ว
- เพื่อเลือกตั้งผู้สอบบัญชี
- เพื่อปรึกษาพิจารณาอื่น ๆ
- การประชุมวิสามัญอาจมีขึ้นเพื่อการใด ๆ โดย
- มติ 2 ใน 3 ของคณะกรรมการ
- เมื่อสมาชิกสามัญ ไม่น้อยกว่า 25 คน ร่วมกันร้องขอให้มีการประชุมวิสามัญเป็นหนังสือต่อเลขานุการ ในคำร้องเช่นว่านั้นต้อง
แสดงเหตุผลและระบุหัวข้อประชุมด้วย ให้เลขานุการเรียกประชุมภายใน 30 วัน นับแต่วันที่เลขานุการได้รับคำร้องนั้น
ถ้ามิได้มีการเรียกประชุมภายในกำหนดเวลาเช่นว่านั้น สมาชิกผู้ร่วมกันร้องขอย่อมมีอำนาจร่วมกันเรียกประชุมวิสามัญเองได้
- ในการเรียกประชุมใหญ่สามัญหรือวิสามัญ เลขานุการต้องส่งคำบอกกล่าวนัดประชุมเป็นเวลาไม่น้อย กว่า 15 วัน เป็นลายลักษณ์อักษรให้
สมาชิกทราบถึงกำหนดวัน เวลา สถานที่และระเบียบวาระ ประชุมไปยังสมาชิกทั้งมวลที่ปรากฏตามทะเบียน อย่างไรก็ดี ในกรณีรีบด่วน
อย่างยิ่ง คณะกรรมการอาจส่งคำบอกกล่าวเรียกประชุมเช่นว่านั้น ล่วงหน้าน้อยกว่า 15 วันก็ได้ แต่ทั้งนี้ต้องไม่น้อยกว่า 7 วัน - ในการประชุมใหญ่ทั้งปวง องค์ประชุมย่อมประกอบด้วยสมาชิกสามัญ 50 คน ขึ้นไปหรือไม่น้อยกว่า 1/5 ของสมาชิกสามัญทั้งหมด แล้วแต่
กรณีใดจะน้อยกว่ากัน - ถ้าการประชุมครั้งใดไม่ครบองค์ประชุม ภายหลัง 1 ชั่วโมงหลังจากกำหนดเวลาประชุมก็ให้งดการ ประชุมนั้นเสียและถ้าไม่ใช่การนัดประชุม
ที่เรียกตามคำขอร้องของสมาชิก และไม่ใช่สมาชิกเรียกเอง ตามข้อ 30 (2) ก็ให้นัดประชุมใหม่
ภายในกำหนดที่คณะกรรมการจะเห็นสมควร
ในการประชุมที่นัดใหม่นั้น มีสมาชิกมาประชุมมากน้อยเท่าใดก็ให้ถือว่าเป็นองค์ประชุมได้ - การแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับ จะกระทำได้โดยมติของที่ประชุมใหญ่และจะต้องมีเสียงลงคะแนนไม่น้อย กว่า 2 ใน 3 ของสมาชิกสามัญที่มา
ประชุม - การเสนอข้อแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับจะกระทำได้โดย
- กรรมการจำนวน 2 ใน 3 ของคณะกรรมการมีมติให้แก้ไขเพิ่มเติม
- สมาชิกสามัญจำนวนไม่น้อยกว่า 1/5 ได้ยื่นร่างแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับ ต่อคณะกรรมการให้เลขาธิการ สมาคมประกาศร่างแก้ไข
เพิ่มเติมข้อบังคับไว้โดยเปิดเผย ณ สำนักงานของสมาคมหรือแจ้งให้สมาชิกทราบไม่น้อยกว่า 7 วันก่อนวันประชุมใหญ่
- ให้คณะกรรมการรับผิดชอบในทรัพย์ และการเงินของสมาคมให้จัดให้มีบัญชีการเงินและทรัพย์สินของ สมาคมตามหลักการบัญชี ให้เป็นการ
ถูกต้อง - เงินทุกประเภทของสมาคม ต้องฝากไว้ในธนาคารหรือสถาบันการเงินที่มีฐานะมั่นคงในนามของสมาคม เหรัญญิกจะเก็บรักษาเงินสด ไว้ได้
ไม่เกิน 5,000 บาท - การสั่งจ่ายเงินของสมาคมจากธนาคารหรือสถาบันการเงิน ต้องให้นายกหรืออุปนายกหรือเหรัญญิก 2 ใน 3 คน ตำแหน่งนี้ ลงนามร่วมกัน
พร้อมประทับตราสมาคม - นายกมีอำนาจสั่งจ่ายเงินได้ไม่เกินจำนวน 5,000 บาท เกินกว่านี้ต้องได้รับความเห็นชอบจากเสียงข้าง มากของที่ประชุมคณะกรรมการ
- เงินของสมาคมนั้นจะนำไปลงทุนแสวงหาประโยชน์ได้ก็แต่โดยอนุมัติของคณะกรรมการ
- ให้ทำบัญชีงบดุลประจำปีการเงิน ซึ่งสิ้นสุดเพียงวันที่ 30 กันยายน บัญชีงบดุลนี้ต้องให้ผู้สอบบัญชี ตรวจสอบรับรองแล้วนำเสนอเพื่ออนุมัติ
ในที่ประชุมใหญ่ภายใน 3 เดือน นับแต่วันที่ลงในงบดุลนั้นให้มีสำเนางบดุลเปิดเผยไว้ในสำนักงานของสมาคมในระหว่างเวลาเช่นว่านั้น
เพื่อให้สมาชิกตรวจดูได้ด้วย - ผู้สอบบัญชีนั้นให้ที่ประชุมใหญ่เลือกทุกปี ถ้าในระหว่างปีตำแหน่งผู้สอบบัญชีว่างลงด้วยเหตุใดก็ตาม คณะกรรมการอาจแต่งตั้งผู้สอบบัญชี
ใหม่แทนได้